หน้าเว็บ

12 พ.ย. 3097

English for fun

                              

         มาร้องเพลงกันเถอะ  

 

                          


 

 



Vocabulary


ศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับร่างกาย
Ankle - ข้อเท้า
Earlobe - ติ่งหู
Head - หัว

Shin - หน้าแข้ง
Armpit - รักแร้
Elbow - ข้อศอก
Heel - ส้นเท้า

Shoulder - หัวไหล่
Arm - แขน
Eye - ตา
Hip - สะโพก

Stomach/Abdomen/Belly/Tummy - ท้อง
Back - หลัง
Eyebrow - คิ้ว
Knee - หัวเข่า

Thigh - ต้นขา
Bottom/Buttocks/Butt - ก้น
Face - ใบหน้า
Leg - ขา

Toe - นิ้วเท้า
Cheek - แก้ม
Finger - นิ้วมือ
Lip - ริมฝีปาก

Tongue - ลิ้น
Chest - หน้าอก
Foot - เท้า
Mouth - ปาก

Tooth - ฟัน
Calf - น่อง
Forehead - หน้าผาก
Navel/Belly button - สะดือ
Waist - เอว
Chin - คาง
Hair - ผม

Neck - คอ

Ear - หู
Hand - มือ
Nose - จมูก

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับมือและเท้า (Hand and Foot Vocabulary)
ศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับมือและเท้า
Thumb - นิ้วโป้ง Ankle - ข้อเท้า
Index finger - นิ้วชี้ Big toe - หัวแม่เท้า
Middle finger - นิ้วกลาง Little toe - นิ้วก้อย
Ring finger - นิ้วนาง Heel - ส้นเท้า
Little finger - นิ้วก้อย Toe nail - เล็บเท้า
Finger nail - เล็บมือ
Wrist - ข้อมือ
Knuckle - ข้อนิ้วมือ
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับดวงตา (Eye Vocabulary)
ศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับดวงตา
Cornea - แก้วตา
Upper Eyelid - เปลือกตาบน
Pupil - รูม่านตา
Eyelash - ขนตา
Lower Eyeสid - เปลือกตาล่าง
Sclera - ตาขาว
Eyelid - เปลือกตา, หนังตา
Iris - ตาดำ, ม่านตา

ขอบคุณภาพประกอบ:
 http://www.dek-eng.com/ ขอบคุณนะค่ะ
                                                   


11 ก.พ. 2555

Money



คุณรู้มั้ยว่าภาษาอังกฤษสามารถช่วยคุณเก็บสะสมเงินได้ ภาษาอังกฤษมีศัพท์มากมายที่แนะนำให้คุณเก็บเงินไว้เผื่อใช้ในยามคับขัน ถ้าคุณสนใจในการเก็บหอมรอมริบ ลองเรียนความหมายของสำนวนต่อไปนี้แล้วนำไปใช้ !


Penny-pinching. หมายถึงเก็บสะสมเงิน หรือคนที่ไม่เต็มใจที่จะจับจ่ายใช้สอยเงินที่มีอยู่ อย่างเช่น I have to do some penny-pinching this month if I want to buy that coat!
A penny saved is a penny earned. หมายถึงการไม่ใช้จ่ายเงินนั้นออกไปก็เท่ากับการได้เงินนั้นเข้ามาเพราะว่ามันยังอยู่ในกระเป๋าของคุณนั่นเอง !
The best things in life are free. มีความหมายเทียบเท่ากับ Money isn't everything, นั่นคือเงินไม่สามารถซื้อทุกอย่างได้นั่นเอง เช่น ความรัก มิตรภาพ และสุขภาพ
Saving for a rainy day หมายถึงเก็บเงินออมไว้เผื่อไว้ใช้ในอนาคต หรือเก็บเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
Penny wise, pound foolish. หมายถึงคนที่จุกจิกระมัดระวังการใช้จ่ายครั้งย่อยๆ แต่ละเลยไม่รอบคอบเมื่อจ่ายครั้งใหญ่ๆ เป็นจำนวนเงินมากๆ
A fool and his money are soon parted. สำนวนนี้ให้ข้อคิดกับเราว่าคนโง่ไม่รู้จักรักษาเงินของตัวเอง !
Early to bed and early to rise, makes a man healthy, wealthy and wise. เป็นคำกล่าวของ Benjamin Franklin ที่รู้จักกันดี หมายถึงถ้าคุณเข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้าตรู่ คุณสามารถรวยได้ !
Money doesn't grow on trees. หมายถึงเงินทองเป็นของหายาก พ่อแม่มักบอกลูกๆ อย่างนี้ถ้าลูกเห็นอะไรก็อยากซื้อไปซะทุกอย่าง !
Money talks. เป็นสำนวนสมัยใหม่หมายความว่าเงินมีอำนาจ หรือเงินบันดาลให้อะไรเกิดขึ้นได้
In for a penny, in for a pound. สำนวนนี้ปัจจุบันหมายความว่าถ้าคุณเริ่มอะไรซักอย่างแล้วก็ควรทำต่อไปให้เสร็จ แม้ว่าคุณจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าที่คาดไว้ก็ตาม ส่วนความหมายดั้งเดิมคือถ้าโทษของการทำผิดไม่ว่าจะเล็กใหญ่ก็มีความรุนแรงเท่ากัน ผู้คนจะเลือกทำผิดครั้งใหญ่เพราะหวังอยากได้ผลประโยชน์มากกว่า
http://englishtown.msn.co.th/community/channels/article.aspx?articleName=168-money&Ctag=168-money

23 ม.ค. 2555

                                      โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์
โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 131/1 ถนนตลาดพลู แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 มีเนื้อที่ 4 ไร่ 34 ตารางวา

ประวัติโรงเรียน

ขุนวรเทพีพลารักษ์ ได้ทำพินัยกรรมมอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการเพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้ง โรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เดิมชื่อโรงเรียนบางยี่เรือวรเทพีพลารักษ์ ต่อมา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ ใช้อักษรย่อ ธ.บ.ว. เปิดสอนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2527[ต้องการอ้างอิง]

15 ม.ค. 2555

                                                       ABOUT ENGLISH

ผลการสำรวจขององค์การ UNESCO และองค์การระดับโลกอื่นๆ ยังได้เน้นให้เห็นชัดยิ่งขึ้นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษได้ถูกใช้เป็นภาษาทางการและกึ่งทางการในประเทศกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และมีความสำคัญในประเทศอื่นๆ อีก 20 ประเทศ ภาษาอังกฤษครองความสำคัญหรืออย่างน้อยก็มีการใช้อยู่ในทวีปทั้ง 6 ทวีป และถูกใช้เป็นภาษาหลักในหนังสือ,หนังสือพิมพ์,สนามบิน,ธุรกิจระดับ สากล,วิทยาศาสตร์,เทคโนโลยี,การแพทย์,การทูต,การกีฬา,ดนตรีป๊อป และโฆษณา นักวิทยาศาสตร์สองในสามของโลกเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ จดหมายสามในสี่ส่วนในโลกนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ข้อมูลในสื่ออิเล็คทรอนิคส์ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของโลกอยู่ในรูปของภาษาอังกฤษ  รายการวิทยุภาษาอังกฤษมีผู้รับฟังมากกว่า150 ล้านคนใน 120 ประเทศ  เด็กๆกว่า 50 ล้านคน เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาเสริมตั้งแต่ชั้นประถม และอีกกว่า80 ล้านคนเรียนในชั้นมัธยม(ข้อมูลนี้ไม่ได้รวมถึงประเทศจีน) ข้อมูลทางสถิติเหล่านี้ยังคงมีอีกมากมาย แต่เราอาจจะแสดงถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษได้อย่างเด่นชัดจากคำให้สัมภาษณ์ ของผู้ศึกษาภาษาอังกฤษจากหลายๆ ประเทศดังนี้

‘เมื่อฉันเรียนภาษาอังกฤษจบ รายได้จากการเป็นเลขานุการของฉันจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบสิบเท่า’

(เลขานุการฝึกงานชาวอียิปต์)
‘บริษัท ของผมวางแผนธุรกิจขนาดใหญ่กับประเทศอาหรับ พวกเราไม่มีใครพูดภาษาอาหรับได้ และพวกเขาก็ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น แผนงานและการประชุมทั้งหมดของเราเป็นภาษาอังกฤษ’
(นักธุรกิจชาวญี่ปุ่น)
‘หลังจากฉันศึกษาภาษาอังกฤษ ฉันรู้สึกว่าฉันได้สัมผัสกับโลกสากลเป็นครั้งแรก’
(ครูชาวไนจีเรีย)
‘ถ้าผมต้องการติดตามเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดให้ทันแล้วล่ะก็ แน่นอน ผมจะต้องใช้ภาษาอังกฤษอยู่เสมอ’
(หมอชาวอินเดีย)
ใน ประเทศไทย นักเรียนนักศึกษาก็มีความสนใจที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมากเช่นกัน ขณะที่ระบบการศึกษาตามหลักสูตรในโรงเรียนยังไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ได้อย่าง เพียงพอ ดังจะเห็นได้จากการที่มีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งก็สามารถตอบสนองผู้ต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงมีจุดด้อยอยู่บางประการ เช่น ราคาค่าเล่าเรียนสูง ความไม่สะดวกในการเดินทาง การขาดแคลนบุคคลากรผู้สอนที่มีคุณภาพ ซึ่งในจุดนี้ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้สามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้


ส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็คือ การเรียนรู้คำศัพท์ ดังที่ Meara (1993) ได้เน้นถึงความสำคัญของเรื่องนี้เอาไว้ว่า Vocabulary is beginning to occupy a central place in the way people learn a language. Learning words and their meanings and how they are used is increasingly seen as the key to learning a language, not just an annoying or irrelevant side activity.
(การเรียนรู้) คำศัพท์ได้เริ่มกลายเป็นจุดศูนย์กลางของวิธีที่ผู้คนเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้คำ, ความหมายและการใช้คำ ได้รับการยอมรับสูงขึ้นในฐานะของการเรียนรู้ภาษา ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมประกอบที่น่ารำคาญหรือไม่เกี่ยวข้อง (กับการเรียนรู้ภาษา) อีกต่อไป ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการสอนคำ ศัพท์ภาษาอังกฤษได้ โดยที่ผู้เรียนสามารถทำการศึกษาได้ด้ว




10 ม.ค. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม




ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  

 
-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

 
-   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน โลก ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

 
-   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

 
-   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน

 
-   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ 

การวางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก  การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ  ที่ได้จากประสบการณ์  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้

            กลุ่มพฤติกรรมนิยม  : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
อ้างอิง: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm


 


25 ธ.ค. 2554

Wh-word

Wh-words และ How

Wh-words and How คือ คำที่ใช้แสดงคำถาม เช่น what, which, when, where, who, Whom, Whose, why, how, how much, how many, how old, how+ Adjective (หรือ adverb)
โดยมีการเรียงรูปประโยค ดังนี้





คำถาม กริยาช่วย/Verb to be ประธาน (กริยา)+ส่วนอื่น ๆ
 
ถ้ากริยาในประโยคเป็น  Verb to be หรือมีกริยาช่วยตัวอื่น ๆ เราเพียงแต่สลับ Verb to be หรือ กริยาช่วยมาไว้หน้าประธาน ส่วนอื่น ๆ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม เช่น 
What : (อะไร)  ใช้ถามเกี่ยวกับสัตว์และสิ่งของทั่วไ ปก็ได้

  • เวลาเท่าไหร่แล้ว à What time is it?
Which : (คนไหน, อันไหน,ตัวไหน) ใช้ถามได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของเป็นได้ทั้ง Adjective และ Pronoun

  • วิชาไหนที่คุณชอบมากกว่ากัน à which subject do u prefer, science or math?
When : (เมื่อไหร่) เป็นได้แต่adverbอย่างเดียว  ใช้ถามถึงเวลา

  • คุณจะกลับมาอีกเมื่อไหร่ à When will you be back?
Where : (ที่ไหน)  เป็นได้แต่adverbอย่างเดียว ใช้ถามถึงสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ หรือที่ๆจะไปสู่

  • รถของคุณจอดอยู่ที่ไหน à Where do you park a car?
Who : (ใคร) เป็น Pronoun อย่างเดียว ใช้กับคนและใช้เป็นประธานเสมอ

  • ชายคนนั้นคือใคร à Who is that man?
Whom : ใคร เป็น pronoun อย่างเดียว ใช้ถามถึงคนในกรณีที่บุคคลนั้นทำหน้าที่เป็นกรรม

  • เขากำลังพูดกับใคร à Whom is he speaking with?
Whose : (ของใคร) ใช้กับคนเพื่อถามถึงเจ้าของ

  • นั่นบ้านของใครà Whose house is that?

Why : (ทำไม) ใช้ถามเมื่อต้องการทราบเหตผล, สาเหตุ หรือ จุดประสงค์

  • ทำไมคุณจึงมาสายà Why are you late?
How : (อย่างไร) ใช้ถาม ในลักษณะของอาการ ,วิธีการ , และขั้นต้นประโยคสำหรับการทักทาย     

  • เชาเล่นเปียโนไดอย่างไรบ้าง  à How does he play the piano?
 



มาทำแบบฝึกหัดกันค่ะ 

 
Exercise
1.  A: _____________ papers are these?
     B:Not mine.

        a. Whose
      b. Where
     c. Whom
      d. Why
2.  A: ____ is he?
     B: getting better.
                 a. What
      b. How
      c. Who
      d. Where
3.  A: _____________ students want to come?
     B: Only John and Adam.

                   a.  How many
                   b.  How much
                   c.  How often
                   d. How are 
4.   A: _____________ does it takes
      B: 45 minutes
                   a. How fast
                   b. How long
                   c. How far
                   d. How much
5.    A: _____________ the matter?
       B: I don't feel well.

                       a.  where is
                   b.  What
                   c.  How are
                   d. What is


  Choose the best WH word:

6.  What / Where  do you want to eat?  = Pasta and cheese.

7.  What / Where   do they smoke?        = Cigarettes.

8.  How  / What    does John drive?       = Cars.

9.  Why / When   do we get up?              = Early in the morning.

10.   Who / Where   does that girl go swimming?    = At the club.

Match the question structure on the right to the answer on the left.
จับคู่โครงสร้างประโยคคำถามทางขวากกับคำตอบทางซ้ายให้ตรงกัน
For example: When we want to know a Place we ask a question Where…?

11) _____Thing                          A. How old...?
12)  _____Place                         B. How far...?
13) _____Person                       C. Who...?
14)_____Reason                        D. How high...?
15)_____Time                           E. How many...?
16)_____Age                             F. How much...?
17)_____Length                        G. Why...?
18)_____Width                          H. How long...?
                                                I. Where...?
                                                J. How wide...?
19)_____Height                         K. What...?
20)_____Distance                      L. When...?

เฉลยแบบฝึกหัดค่ะ Answer

1.a  2.d   3.a   4.b   5.d 6. what 7.where 8.How 9.when 10.Where 11.k 12 I 13.C 14.G 15.K 16. A 17.H 18.J 19.D 20.B


                         Good Luck !  

22 ธ.ค. 2554

วันเด็กแห่งชาติ

 2 มกราคม วันเด็กแห่งชาติ Children's Day.




ประวัติงานวันเด็ก
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติรัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวัน เด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


คำขวัญวันเด็กประจำปี 2555 

สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี  



   พ.ศ.2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ.2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
 

ประเทศไทยได้จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา
โดยได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบจัดงาน (ตามที่ปรากฏในคำนำ ของหนังสือ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2538) และได้ริเริ่มจัดพิมพ์หนังสือวันเด็กแห่งชาติ ฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.
2502 (ตามที่ปรากฏในคำนำ ของหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี 2508)
ที่มา fwmail