หน้าเว็บ

23 ม.ค. 2555

                                      โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์
โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 131/1 ถนนตลาดพลู แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 มีเนื้อที่ 4 ไร่ 34 ตารางวา

ประวัติโรงเรียน

ขุนวรเทพีพลารักษ์ ได้ทำพินัยกรรมมอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการเพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้ง โรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เดิมชื่อโรงเรียนบางยี่เรือวรเทพีพลารักษ์ ต่อมา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ ใช้อักษรย่อ ธ.บ.ว. เปิดสอนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2527[ต้องการอ้างอิง]

15 ม.ค. 2555

                                                       ABOUT ENGLISH

ผลการสำรวจขององค์การ UNESCO และองค์การระดับโลกอื่นๆ ยังได้เน้นให้เห็นชัดยิ่งขึ้นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษได้ถูกใช้เป็นภาษาทางการและกึ่งทางการในประเทศกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และมีความสำคัญในประเทศอื่นๆ อีก 20 ประเทศ ภาษาอังกฤษครองความสำคัญหรืออย่างน้อยก็มีการใช้อยู่ในทวีปทั้ง 6 ทวีป และถูกใช้เป็นภาษาหลักในหนังสือ,หนังสือพิมพ์,สนามบิน,ธุรกิจระดับ สากล,วิทยาศาสตร์,เทคโนโลยี,การแพทย์,การทูต,การกีฬา,ดนตรีป๊อป และโฆษณา นักวิทยาศาสตร์สองในสามของโลกเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ จดหมายสามในสี่ส่วนในโลกนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ข้อมูลในสื่ออิเล็คทรอนิคส์ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของโลกอยู่ในรูปของภาษาอังกฤษ  รายการวิทยุภาษาอังกฤษมีผู้รับฟังมากกว่า150 ล้านคนใน 120 ประเทศ  เด็กๆกว่า 50 ล้านคน เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาเสริมตั้งแต่ชั้นประถม และอีกกว่า80 ล้านคนเรียนในชั้นมัธยม(ข้อมูลนี้ไม่ได้รวมถึงประเทศจีน) ข้อมูลทางสถิติเหล่านี้ยังคงมีอีกมากมาย แต่เราอาจจะแสดงถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษได้อย่างเด่นชัดจากคำให้สัมภาษณ์ ของผู้ศึกษาภาษาอังกฤษจากหลายๆ ประเทศดังนี้

‘เมื่อฉันเรียนภาษาอังกฤษจบ รายได้จากการเป็นเลขานุการของฉันจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบสิบเท่า’

(เลขานุการฝึกงานชาวอียิปต์)
‘บริษัท ของผมวางแผนธุรกิจขนาดใหญ่กับประเทศอาหรับ พวกเราไม่มีใครพูดภาษาอาหรับได้ และพวกเขาก็ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น แผนงานและการประชุมทั้งหมดของเราเป็นภาษาอังกฤษ’
(นักธุรกิจชาวญี่ปุ่น)
‘หลังจากฉันศึกษาภาษาอังกฤษ ฉันรู้สึกว่าฉันได้สัมผัสกับโลกสากลเป็นครั้งแรก’
(ครูชาวไนจีเรีย)
‘ถ้าผมต้องการติดตามเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดให้ทันแล้วล่ะก็ แน่นอน ผมจะต้องใช้ภาษาอังกฤษอยู่เสมอ’
(หมอชาวอินเดีย)
ใน ประเทศไทย นักเรียนนักศึกษาก็มีความสนใจที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมากเช่นกัน ขณะที่ระบบการศึกษาตามหลักสูตรในโรงเรียนยังไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ได้อย่าง เพียงพอ ดังจะเห็นได้จากการที่มีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งก็สามารถตอบสนองผู้ต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงมีจุดด้อยอยู่บางประการ เช่น ราคาค่าเล่าเรียนสูง ความไม่สะดวกในการเดินทาง การขาดแคลนบุคคลากรผู้สอนที่มีคุณภาพ ซึ่งในจุดนี้ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้สามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้


ส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็คือ การเรียนรู้คำศัพท์ ดังที่ Meara (1993) ได้เน้นถึงความสำคัญของเรื่องนี้เอาไว้ว่า Vocabulary is beginning to occupy a central place in the way people learn a language. Learning words and their meanings and how they are used is increasingly seen as the key to learning a language, not just an annoying or irrelevant side activity.
(การเรียนรู้) คำศัพท์ได้เริ่มกลายเป็นจุดศูนย์กลางของวิธีที่ผู้คนเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้คำ, ความหมายและการใช้คำ ได้รับการยอมรับสูงขึ้นในฐานะของการเรียนรู้ภาษา ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมประกอบที่น่ารำคาญหรือไม่เกี่ยวข้อง (กับการเรียนรู้ภาษา) อีกต่อไป ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการสอนคำ ศัพท์ภาษาอังกฤษได้ โดยที่ผู้เรียนสามารถทำการศึกษาได้ด้ว




10 ม.ค. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม




ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  

 
-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

 
-   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน โลก ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

 
-   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

 
-   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน

 
-   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ 

การวางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก  การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ  ที่ได้จากประสบการณ์  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้

            กลุ่มพฤติกรรมนิยม  : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
อ้างอิง: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm